หมวดหมู่: ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรรับรู้สู่ชุมชนครังที่ 19 -22

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรรับรู้สู่ชุมชนครังที่ 19

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรรับรู้สู่ชุมชนครังที่ 20

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรรับรู้สู่ชุมชนครังที่ 21

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรรับรู้สู่ชุมชนครังที่ 22

การลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุ

#แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์
 
– เรื่องการรับเบี้ยผู้สูงอายุ
– ผู้สูงอายุลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพปี 2565 ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 และ เดือน มกราคม – กันยายน 2564
คุณสมบัติ
1.ผู้สูงอายุรายใหม่ ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และยังไม่เคยลงทะเบียนมา ก่อน
2.เป็นผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2565 นับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2565 (เกิดก่อน 2 กันยายน 2505)
3.ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือเทศบาล อบต.จัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบ
เอกสารหลักฐานในการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
4.หากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตัวจริงพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านและสำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด
 
หมายเหตุ ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้ เทศบาล หรือ อบต.ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตน กว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น คือ เดือนกันยายน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้องไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาลหรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 -30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคม ของปีถัดไป
 
ยื่นเอกสารแล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่
ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
เบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
อายุ 60 – 69 ปี รับเดือนละ 600 บาท
อายุ 70 – 79 ปี รับเดือนละ 700 บาท
อายุ 80 – 89 ปี รับเดือนละ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเดือนละ 1,000 บาท
 
!!! เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ!!!
ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
☎️:045-682774

การลงทะเบียนรับเบี้ยงยังชีพคนพิการ

 

#แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์
 
– เรื่องการลงทะเบียนรับเบี้ยผู้พิการ
 
– ขอประชาสัมพันธ์ให้คนพิการที่มีความประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการ ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนมาก่อนหรือคนพิการที่ย้ายทะเบียนบ้านมาใหม่ ให้มาลงทะเบียนเพื่อแสดงความประสงค์ขอรับเบี้ยความพิการด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้ดูแลยื่นคำขอแทนโดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้ดูแลคนพิการไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
โดยมีหลักฐานตามที่ราชการกำหนด ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน เพื่อที่จะได้รับเงินเบี้ยความพิการ ตามนัยข้อ 7 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2553 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 เพื่อขอรับเบี้ยความพิการเป็นรายเดือน
โดยเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
1.สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
3.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีผู้ขอรับเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านบัญชีธนาคาร
 
เบี้ยยังชีพคนพิการรายเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
คนพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รับเบี้ยยังชีพ เดือนละ 1,000 บาท
คนพิการที่มีอายุอายุ 18 ปี ขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพ เดือนละ 800 บาท
 
หมายเหตุ สำหรับคนพิการรายใหม่ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนคนพิการได้ที่ สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลเมืองคง โดยจะต้องนำเอกสารหลักฐานไปยื่นขอขึ้นทะเบียน ประกอบด้วย
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาสูติบัตรของ
คนพิการ
2.สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ
3.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
4.ใบรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่เลขาธิการประกาศกำหนด
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
☎️:045-682774

ประชาสัมพันธ์ “พลังใจ 99 บาท ก้าวผ่านวิกฤต COVID – 19 “

ประชาสัมพันธ์ “พลังใจ 99 บาท ก้าวผ่านวิกฤต COVID – 19 “

ประชาสัมพันธ์ ช่องทางการร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประชาสัมพันธ์ ช่องทางการร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประชาสัมพันธ์โครงการ “พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัยปี 2 “

ถนนปลอดภัย เป็นความร่วมมือระหว่าง บมจ. ธนชาตประกันภัยและศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เพื่อร่วมแก้ปัญหาและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนนสายรองในชุมชนด้วยแนวทางการสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงอันตรายบนถนน โดยใช้กระบวนการจัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน

บมจ. ธนชาตประกันภัยผู้ประกอบธุรกิจด้านการประกันภัยที่ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการจราจร และมีความมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างถนนที่มีความปลอดภัยกับทั้งชีวิตและทรัพย์สินขอผู้ใช้รถใช้ถนน โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการ “ธนชาตประกันภัย Yes,We Safe” ที่ดำเนินงานทั้งในด้านการป้องกันและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งในปี 2561บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลังชุมชน สร้างถนนปลอดภัย” ขึ้น โดยมีเป้าหมาย

  • กระตุ้นให้คนในชุมชนได้ร่วมสะท้อนปัญหาของความปลอดภัยบนท้องถนน
  • ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบต่อส่วนรวม
  • สร้างองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับชุมชน
  • ผลักดันพลังของคนในชุมชนให้เกิดเป็นแรงกระเพื่อมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ที่ดี
  • ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ
  • สนับสนุนนโยบายรัฐบาลภายใต้แผนทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554 – 2563
  • ตั้งเป้าหมายแก้ไขจุดเสี่ยงอันตรายต่ออุบัติเหตุบนถนน ให้ได้ 30 แห่งทั่วประเทศ
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อการแก้ปัญหาจริงในแต่ละชุมชน ชุมชนได้อะไรจากโครงการพลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย
  • ได้ร่วมสะท้อนปัญหาในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ถนน
  • ได้แสดงความเป็นผู้นำในงานด้านอุบัติเหตุของชุมชนเพื่อชุมชน
  • ได้เรียนรู้ข้อมูลและแนวทางปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ
  • ได้เป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนและยกระดับแผนป้องกันอุบัติเหตุให้ได้ตามมาตรฐาน
  • ได้โอกาสในการแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
  • ได้รับงบประมาณใช้ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงบนถนนเพื่อลดการบาดเจ็บ และเสียชีวิตของคนในชุมชนและผู้ใช้เส้นทาง
  • ได้รับธง “ชุมชนถนนปลอดภัย” จากธนชาตประกันภัย เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายว่าชุมชนหรือหมู่บ้านแห่งนี้เป็นต้นแบบที่ดีและได้แสดงพลังความร่วมมือเพื่อทำให้ชุมชนมีถนนที่ปลอดภัย
  • ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดจำนวนพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงบนถนนในประเทศไทย

ขอเชิญดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Civic Education บนสมาร์ทโพน เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ขอเชิญดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Civic Education บนสมาร์ทโพน เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

โครงการพัฒนาระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะของหน่วยงานไปสู่องค์กรคุณภาพด้วยระบบLocal mooc

โครงการพัฒนาระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะของหน่วยงานไปสู่องค์กรคุณภาพด้วยระบบLocal mooc

https://www.localmooc.com

บทความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเผยแพร่บทความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

จำนวน 5 บทความ ได้แก่

1. เอาสามีไปใช้ฟรีๆไม่ได้นะ

2. ไม่ให้เพราะไม่ยอมแจ้งเหตุผลที่ขอ

 

3. ขอตรวจสอบปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า

4. ความเห็นพนักงานสอบสวน

 

5. กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ขอเชิญตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามคู่มือประชาชน

ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ต่อการให้บริการตามคู่มือสำหรับประชาชน

คลิ๊กตามลิค์ข้างล่างหรือสแกน QR Code ในรูป

https://opdc.csn.cx/